เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม
หากทำธุรกิจแล้วไม่ได้ทำความเข้าใจไว้อาจจะเกิดความเสียหายต่อระบบกระแสเงินหมุนเวียนของธุรกิจได้ง่ายๆ ผมจะย่อบทสรุปมาให้ดังนี้ครับ
กรณีแรก: กรณีไม่ได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 หรือพูดง่ายๆว่า ค่อยจ่ายหรือรอก่อน
สูตรคำนวน: ภาษีขาย-ภาษีซื้อ = ยอดเงินก่อนเบี้ยปรับ x 1.5 % ต่อเดือนของยอดเงินก่อนเบี้ยปรับ + 2 เท่ายอดเงินก่อนเบี้ยปรับ+เบี้ยปรับไม่ยื่นแบบเดือนละ 500 บาท 😳
หากจะเปรียบให้เห็นเป็นตัวเลขสมมติง่ายๆดังนี้
ภาษีบิลขายทั้งหมดในเดือน 7,500 บาท
ภาษีบิลซื้อทั้งหมดในเดือน 1,250 บาท
ภาษีขาย-ภาษีซื้อ = 7,500 – 1,250 เท่ากับ 6,250 บาทคือ ยอดเงินภาษี
หากท่านปล่อยเวลาไปจ่ายเดือนถัดไปสมมติว่าหนึ่งเดือน 🙄
ยอดที่ปรากฎตอนที่นำส่งสรรพากรจะถูกคำนวณตามสูตรข้างบนนี้เลย
ยอดเงินภาษี x 1.5 % ต่อเดือน(เรียกว่าเงินเพิ่ม)+ 2 เท่ายอดเงินภาษี (เรียกว่าเบี้ยปรับ)+เบี้ยปรับไม่ยื่นแบบเดือนละ 500 บาท
😈 นั่นก้อคือ = 6250×1.5%+2×6250+500 ผลที่ออกมาคือ = 93.75 + 12500 + 500 เท่ากับต้องจ่ายทั้งหมดคือ 13,093.75 บาท
กรณีที่สอง: กรณียื่นแบบ ภ.พ. 30 เมื่อเลยกำหนดเวลา ซึ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องรับผิดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตาม กรณีแรก. ไปแล้ว ต่อมาตกหล่นต้องยื่นแบบ ภ.พ. 30 เพิ่มเติม หรือสรรพากรประเมินตรวจสอบพบความผิด
แบ่งย่อยเป็นกรณีที่ 1
คำนวนภาษีซื้อเกินหรือภาษีขายขาดไป ผลรวมทั้งสองรายการเรียกเป็น ตัวเลขคลาดเคลื่อน
สูตรคำนวน:เงินเพิ่มภาษีที่ต้องนำส่ง
ยอดที่ 1 คือ = 1.5 % ต่อเดือนของยอดตัวเลขคลาดเคลื่อน
เบี้ยปรับ 2 เท่าของตัวเลขคลาดเคลื่อน
เบี้ยปรับ 1 เท่าxยอดภาษีซื้อเกิน
เบี้ยปรับ 1 เท่าxยอดภาษีซื้อขาด
ยอดที่ 2 จะเลือกจากยอดเบี้ยปรับที่สูงที่สุดมาใช้
แบ่งย่อยเป็นกรณีที่ 2-3-4-5-6
คงต้องไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสรรพากรตามลิ้งค์นี้เลยครับ http://www.rd.go.th/publish/9880.0.html