Category: accounting

accounting กฏหมาย หลักเกณฑ์บัญชีนิติบุคคล

ราคารวมภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ราคารวมหัก ณ ที่จ่าย

กรณีจ่ายค่าบริการ หรือค่าจ้าง แล้วผู้รับจ้างหรือผู้ให้บริการไม่ยินยอมให้นิติบุคคล หัก ณ ที่จ่าย จึงจำเป็นต้องบวกเงินได้เพิ่มขึ้นก่อนหัก ณ ที่จ่าย จึงจะนำไปบันทึกรายการและนำส่ง หัก ณ ที่จ่ายต่อสรรพากรได้ ผมเลยมีสูตรวิธีการคำนวณมาให้ใช้ตามนี้เลยนะครับ หาราคาก่อนหัก ณ ที่จ่าย ด้วยสูตรนี้ สมมุติเงินได้ที่ต้องจ่ายออกไปคือ  X  บาท อัตราที่ผู้มีเงินได้ต้องถูกหัก  Y หายอดเงินบวกกลับด้วยสูตรนี้ครับ Z = X+[(X*ํY)/(100-Y)] เอาผลลัพทธ์ Z มาคูณกับ Y% จะได้ตัวเลข ออกมา เป็น...

ราคารวมภาษีเปิดใบเสร็จยังไง?

ราคารวมแวต

เมื่อเราขายสินค้าในราคารวมแวต เราจะต้องเปิดใบกำกับภาษีพร้อมใบเสร็จรับเงิน ผมเลยมีสูตรวิธีการคำนวณมาให้ใช้ตามนี้เลยนะครับ หาราคาก่อนแวตก่อนด้วยการเอาราคารวม vat (ราคาที่ลูกค้าซื้อไป) หารด้วย 1.07 = ก่อน Vat เอาผลลัพทธ์จากข้อ  (1) * 0.07 = ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เอา (1) + (2) = ราคาที่ลูกค้าซื้อไป

Admin AC services

วันนี้ได้มีโอกาสเจอลูกค้าที่หน้าห้องน้ำของปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่ง เขาถามผมว่าเราจะเช็คได้อย่างไรว่า บริษัท ที่ทำบัญชีให้เราเขานำส่งภาษีให้เราถูกต้องตรงเวลาตามที่เราส่งหรือไม่?  😉 ผมก้อสรุปแนวทางคร่าวๆกลับไปให้เขาตามนี้ครับง่ายๆ…ให้แจ้งขอสำเนาหลักฐานใบเสร็จ(กรณียื่นผ่านเคาเตอร์หน่วยงาน)หรือหลักฐานการโอนเงินผ่านระบบอิเลคทรอนิกจากผู้รับผิดชอบการให้บริการทางบัญชีของท่าน หลักฐานใบเสร็จที่สามารถขอผู้ให้บริการจัดส่งรายงานกลับมาได้มีดังนี้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภพ.30 ภาษีเงินเดือนพนักงาน ภงด.1ก ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (นิติบุคคล) ภงด.53 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (บุคคลธรรมดา) ภงด.3 รายการนำส่งประกันสังคม กรณีที่ให้ตัวแทนบริการนำส่งแทนท่าน ครับเมื่อได้มาแล้วก้อตรวจดูรายละเอียดในสำเนาใบเสร็จทุกฉบับว่าวัน-เวลา-ยอดเงิน-ชื่อผู้ชำระภาษี-เลขทะเบียนธุรกิจหรือเลขประจำตัวผู้เสียภาษีถูกต้องไหม แค่นี้ก้อชัดแล้วนะครับว่าผู้รับผิดชอบดูแลบัญชีของท่านทำงานให้ท่านคุ้มค่าบริการไหม?

สินทรัพย์

การจัดประเภทของสินทรัพย์ แม่บทการบัญชีในเรื่องวัตถุประสงค์ของงบการเงิน ผู้ใช้งบการเงินต้องสามารถประเมินผลการบริหาร เพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ การแสดงรายการสินทรัพย์ และหนี้สินหมุนเวียน จะต้องชัดเจนในงบการเงินแยกออกจากรายการไม่หมุนเวียน อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงสินทรัพย์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ในรอบระยะเวลาดำเนินงานปัจจุบัน และหนี้สินที่จะถึงกำหนดชำระภายในรอบระยะเวลาเดียวกัน มาตรฐานการบัญชีกำหนดให้คำว่า “ไม่หมุนเวียน” รวมถึงสินทรัพย์ที่มีตัวตนและไม่มีตัวตน สินทรัพย์ทางการเงิน และสินทรัพย์ดำเนินงานที่มีลักษณะระยะยาว แต่มิได้ห้ามให้ใช้คำศัพท์อื่นแทนคำว่า “ไม่หมุนเวียน” หากคำศัพท์ดังกล่าวไม่ทำให้ความหมายที่กล่าวมาแล้วเสียไป สินทรัพย์หมุนเวียน รวมถึง ลูกหนี้การค้า และสินค้าคงเหลือที่มีไว้เพื่อขาย เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานตามปกติ แม้ว่ากิจการไม่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์เหล่านั้นภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล หนี้สินหมุนเวียน สามารถจัดประเภทได้ทำนองเดียวกันกับสินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินบางชนิดถึงแม้ว่าจะครบกำหนดชำระเกินกว่า 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล แต่ก็ควรจัดเป็นรายการหมุนเวียน เช่น เจ้าหนี้การค้า และค่าใช้จ่ายต่าง...

วางระบบบัญชี

วางระบบบัญชี

ขั้นตอนการวางระบบบัญชี วางแผนการสำรวจและวิเคราะห์ ก. ผังองค์การ นโยบายของบริษัท จะต้องทราบถึงการบริหารงานภายในองค์กร หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นระดับพนักงาน หัวหน้า ผู้จัดการ ผู้อำนวยการหรือกรรมการของกิจการ อีกทั้งควรทราบนโยบายการบริหารงานอำนาจการอนุมัติ ข. รายละเอียดของสินค้า/บริการ การสำรวจข้อมูลอันเกี่ยวข้องกับตัวสินค้าผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตสินค้าสำเร็จรูป หรือการให้การบริการแก่ลูกค้า การตั้งราคา การกำหนดต้นทุน การคำนวณหาสินค้าคงเหลือของกิจการ ค. แยกประเภทของงานบัญชี การเงิน งบการเงิน กำหนดรูปแบบงานบัญชีตามประเภทของการดำเนินงาน แนวทางการจัดทำรายการต่างๆ เพื่อเสนอต่อผู้บริหาร การจัดทำงบการเงินไม่ว่าจะเป็นงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกำไรสะสม ง. ผังแสดงการเดินทางของข้อมูล เอกสาร พิจารณาดูการเดินทางของเอกสารต่างๆ...

บัญชี

วงจรบัญชี คือลำดับขั้นตองในกระบวนการทำบัญชีงบการเงินตั้งแต่เริ่มต้นในการทำบัญชีไปจนสิ้นสุดของการทำบัญชี วงจรบัญชีเป็นการแสดงถึงขั้นตองการบัญชีตั้งแต่การเริ่มบันทึกรายการค้าไปจนถึงการได้งบการเงินเป็นรายงานออกมาเป็นไปตามรอบระยะบัญชีที่ทางกิจการได้กำหนดไว้ซึ่งโดยปกติแล้วกระบวนการของวงจรบัญชีนั้นจะมีอยู่ 9 ขั้นตอนด้วยกันหากผู้ที่ต้องการทำบัญชีแล้วการศึกษาวงจรบัญชีจะทำให้เข้าใจการขั้นตอนได้ง่ายและนำไปสู่การเรียนรู้ของการทำบัญชีให้ประสบผลสำเร็จสำหรับขั้นตอนการบัญชีหรือวงจรการบัญชีมีทั้งหมด 9 ขั้นตอนดังนี้ 1. จดบันทึกรายการค้า 2. บันทึกในสมุดบัญชีขั้นตอนหรือว่าสมุดรายวันขั้นต้น 3. สมุดบัญชีแยกประเภท 4. การทำงบทดลอง 5. ปรับปรุงบัญชีในกระดาษทำการ 6. การจัดทำงบการเงิน 7. ปรับปรุงรายการบัญชี 8. การปิดบัญชีขั้นต้น 9. จำทำงบทดลองหรือว่าเปิดรายการบัญชี ในการจัดทำบัญชีของกิจการจำเป็นต้องอาศัยเอกสารหลักฐานที่เชื่อถือได้เพื่อบันทึกรายการที่เกิดขึ้นจนกระทั่งประมวลผลเพื่อนำเสนองบการเงิน ซึ่งสามารถสรุปขั้นตอนการจัดทำรายงานทางการเงิน ได้ดังนี้ ขั้นตอนการปิดบัญชี 1. การวิเคราะห์รายการค้า (Transaction Analysis) ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกและเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากของวงจรบัญชี...

ปิดงบน่ารู้

เป็นบทความที่ขอเอามาแบ่งปันเป็นความรู้สำหรับเจ้าของกิจการ ผมอ่านแล้วก้อเห็นว่ามีประโยชน์และเป็นข้อเท็จจริงที่ควรปรับเปลี่ยน พอดีช่วงนี้เป็นหน้าปิดงบ แล้วเราเองมีเรื่องอยากระบายมานานแล้ว หลังจากได้มีโอกาสร่วมงานกับสำนักงานบัญชีระดับ local เล็กๆ มากมาย เราพบว่า ส่วนใหญ่ เกินครึ่ง ไม่เข้าใจหลักการบัญชีพื้นฐาน แถมยังสอนลูกค้า (ทั้งที่มีพื้นบัญชีและไม่มีพื้นบัญชี) ผิดๆ จนลูกค้าฝังใจเชื่อในสิ่งที่ผิดๆ นั้น เราเองพยายามสอนในสิ่งที่ถูก แต่บางทีก็เป็นการยากที่จะทัดทาน มันเหมือนกับเค้าฝังใจเชื่อสำนักงานบัญชีพวกนั้น จนไม่ยอมรับฟังความถูกต้องไปแล้ว เราจะลองยกประเด็นง่ายๆ หลักบัญชีพื้นๆ ที่เราเจอแล้วปวดหัวกับ สนง.บัญชีระดับล่าง มาให้ลองพิจารณากันนะ ไม่ได้มีเจตนาดูถูกพวกเค้า แต่อัดอั้นมานาน อยากแชร์ 1. สอนย้ำลูกค้าเลยว่า “ถ้าบริษัทให้กรรมการกู้เงิน ยังไงต้องคิดดอกเบี้ย” จนลูกค้าหลายรายเข้าใจผิด...

งบการเงิน

งบการเงิน

การนำเสนองบการเงิน งบการเงิน financial statements เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อเสนอข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ เช่นผู้ถือหุ้นควรถือเงินลงทุนต่อ หรือควรขาย หรือควรซื้อหุ้นเพิ่ม หรือเจ้าหนี้เงินกู้ จะใช้ในการพิจารณาว่าควรปล่อยกู้หรือไม่ นอกจากนั้นงบการเงินยังแสดงความสามารถของฝ่ายบริหาร ที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ถือหุ้นให้บริหาร ส่วนประกอบของงบการเงิน ตามมาตรฐารการบัญชี ฉบับที่ 35 เรื่อง การนำเสนองบการเงิน ได้กำหนดว่างบการเงินที่สมบูรณ์ต้องประกอบด้วย 1.งบดุล balance sheet เป็นงบที่แสดงฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง องค์ประกอบที่สำคัญ คือ สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ (ทุน)...

โทรสอบถาม